1. การกำจัดวัชพืช
1. ไถและพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนปลูก
2. ใช้แรงงาน ขุด ถาก ดาย หรือตัดวัชพืชที่ขึ้นในแถวยาง และควรทำก่อนวัชพืชออกดอก
3. ใช้วัสดุคลุมดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ซังข้าวโพด หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น คลุมโคน ต้นยางเฉพาะต้น หรือตลอดแถว เว้นระยะพอควรไม่ชิดโคนต้นยาง
4. ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ได้แก่ คาโลโปโกเนียม เซนโตรซิมา เพอราเรีย และซีรูเลียม ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร
5. พ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชตามคำแนะนำ เช่น พาราควอต ไกลโฟเสต
2. การปลูกพืชคลุม
การปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยางเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช และลดการชะล้างและพังทลายของ ดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย
ชนิดของพืชคลุมที่ปลูกในสวนยาง
พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ใช้ปลูกในสวนยางที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ Calopogoniummucunoides Puerariaphaseoloides Centrosemapubescens Calopopaniumcaeruleaumเนื่องจากลักษณะและการเจริญเติบโตของพืชคลุมดิน แต่ละชนิดแตกต่างกัน การปลูกพืชคลุมดิน ให้คลุมตลอดอายุต้นยางอ่อน ควรปลูกหลายชนิดรวมกัน และเมล็ดพันธุ์พืชคลุม ควรมีความงอกร้อยละ 80 ขึ้นไป
การเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชคลุม
เมล็ดพืชคลุมมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก เมื่อนำไปปลูกเมล็ดจะงอกน้อย จึงควรกระตุ้น ให้เมล็ดงอกดีขึ้นโดยปฏิบัติดังนี้
1. แช่ในน้ำอุ่น ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดพืชคลุมคาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรียนำไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำเดือด : น้ำเย็น อัตรา 2 : 1) นาน 2 ชั่วโมง นำเมล็ดไปผึ่งให้แห้งหมาด ๆ แล้วนำไปคลุกกับหินฟอสเฟต (25% TotalP2O5) เพื่อนำไปปลูกต่อไป ควรเตรียมเมล็ดพืชคลุมเพื่อปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง การเก็บไว้นานเกินไป จะทำให้ความงอก เสื่อมลง
2. แช่ในน้ำกรด ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดซีรูเลียม โดยแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้นนาน 1 นาที นำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง
ช่วงเวลาการปลูกพืชคลุม
ควรปลูกพร้อมกับปลูกยางในช่วงต้นฤดูฝน ในสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือในเขตแห้งแล้งไม่ควรปลูก พืชคลุมทิ้งไว้ข้ามฤดูกาลก่อนการปลูกยาง เพราะพืชคลุมอาจทำความเสียหายให้กับต้นยาง โดยแย่งความชื้นในดินในช่วงฤดูแล้ง
การปฏิบัติดูแลรักษาพืชคลุม
ควรกำจัดวัชพืชก่อนปลูก และใส่ปุ๋ยบำรุงพืชคลุม ในเขตแห้งแล้งหรือสภาพดินทราย ควรใส่ปุ๋ย เพื่อเร่งให้พืชคลุม เจริญเติบโตในระยะแรก หลังจากที่ปลูก 2 เดือน โดยโรยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยยางอ่อนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ข้างพืชคลุม หลังจากนั้นโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านในบริเวณพืชคลุมทุกปีในช่วงฤดูฝน
3. การใช้ปุ๋ยในสวนยาง
การใส่ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด คือ ปุ๋ยที่ใส่ตั้งแต่เริ่มปลูกจนต้นยางได้ขนาดกรีด ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ยรองก้นหลุม และ ปุ๋ยบำรุง
ปุ๋ยรองก้นหลุม เป็นปุ๋ยที่เร่งให้รากงอกและแผ่ขยายเร็ว ปุ๋ยรองก้นหลุมที่แนะนำใช้ในสวนยางได้แก่ ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) เป็นปุ๋ยที่ผลิตได้ในประเทศ มีปริมาณฟอสเฟตทั้งหมดประมาณร้อยละ 25 มีปริมาณฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ร้อยละ 3 วิธีใส่ ปุ๋ยรองก้นหลุม โดยขุดดินแยกเป็น 2 ส่วนคือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ใช้ดินบนกลบลงในหลุมก่อน ส่วนดินล่างใช้คลุกหิน ฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม แล้วกลบดินล่างที่คลุกปุ๋ยลงไปให้เต็มหลุมในเขตแห้งแล้งแนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม เพิ่มในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นยางมีอัตราการรอดตายสูงและการเจริญเติบโตในช่วงแรกดีขึ้น
ปุ๋ยบำรุง เป็นปุ๋ยที่ใส่เพื่อเร่งให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว สามารถเปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตสูง ปุ๋ยบำรุงที่แนะนำ ใช้ในสวนยางก่อนเปิดกรีด จำนวน 2 สูตร คือ
สูตร 20-8-20 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางเดิม
สูตร 20-10-12 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางใหม่
โดยสูตรปุ๋ยสำหรับดินปลูกยางในเขตปลูกยางเดิม มีอัตราปุ๋ยที่ใส่แตกต่างกันตามชนิดของเนื้อดิน ส่วนในเขต ปลูกยาง ใหม่ และเขตแห้งแล้งแนะนำอัตราปุ๋ยเหมือนกันในดินทุกชนิด และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
สูตรปุ๋ย เวลา และอัตราปุ๋ยเม็ดสูตรสำเร็จที่ใช้กับต้นยางก่อนเปิดกรีด
ปีที่
|
อายุต้นยาง 1/ (เดือน)
|
เขตปลูกยางเดิม
|
เขตปลูกยางใหม่
|
ปุ๋ยเคมี 20-8-20
(กรัม/ต้น)
|
ปุ๋ยเคมี 20-10-12 (กรัม/ต้น)
|
ปุ๋ยอินทรีย์
(กก./ต้น)
|
ดินร่วนเหนียว
|
ดินร่วนทราย
|
ดินทุกชนิด
|
ดินทุกชนิด
|
1
|
2
5
11
|
70
100
130
|
100
140
170
|
60
80
100
|
1
-
-
|
2
|
14
16
23
|
150
150
150
|
200
210
210
|
110
110
120
|
2
-
-
|
3
|
28
36
|
230
230
|
320
320
|
180
180
|
2
-
|
4
|
40
47
|
240
240
|
330
330
|
180
180
|
2
-
|
5
|
52
59
|
260
260
|
360
360
|
200
200
|
2
-
|
6
|
64
71
|
270
270
|
370
370
|
200
200
|
2
-
|
1/ เวลาใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน
ในขณะที่ต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยบริเวณรอบโคนต้นยางในรัศมีทรงพุ่มใบ หลังจากนั้นเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป ใส่เป็นแถบ 2 ข้าง ในบริเวณระหว่างแถวยางตามแนวทรงพุ่มของต้นยาง โดยวิธีคราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน หรือขุดหลุมลึกประมาณ เซนติเมตร จากผิวดิน จำนวน 2 หลุมต่อต้น
การใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
เมื่อต้นยางเปิดกรีดได้แล้ว ยังมีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยต่อไปทุกปี เพื่อให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ ปุ๋ยยางพาราหลังเปิด กรีดที่แนะนำคือ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 ใช้ได้กับดินทุกชนิด ทั้งในเขตปลูกยางเดิมและเขตปลูกยางใหม่ สำหรับดินที่ขาดธาต ุแมกนีเซียมควรใส่ปุ๋ยคีเซอไรท์ เพิ่มในอัตรา 80 กรัมต่อต้นต่อปี อย่างไรก็ตาม สวนยางที่ปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง และใส ่ปุ๋ย บำรุงต้นยางและ พืชคลุมดินสม่ำเสมออาจ ไม่ต้องใสปุ๋ยบำรุงต้นยาง ในช่วง 2 ปีแรกที่เปิดกรีด หากในดินและใบยางมีปริมาณธาตุ อาหารเพียงพอ ทั้งนี้จากปุ๋ยที่ใส่ให้แก่ต้นยางในระยะยาง อ่อนยังมีผลตกค้างในดินเป็นเวลา 2 ปี
การใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอัตรา1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 500 กรัมต่อต้น ครั้งแรกใส่ในต้นฤดูฝนหลังจากยางผลัดใบ ขณะที่ใบเพสลาด คือ ประมาณปลายเดือนเมษายน - พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย ประมาณเดือนสิงหาคม -กันยายน โดยหว่านปุ๋ยในบริเวณห่างจากโคนต้นยางประมาณ 3 เมตร หรือบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง คราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดินที่ ระดับความลึกประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร
การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
ปุ๋ยผสม หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำเอาปุ๋ยเชิงเดี่ยว หรือปุ๋ยเชิงประกอบที่เป็น แหล่งของธาตุ อาหารหลักของยางพารา มาผสมกันให้มีเนื้อธาตุอาหารตามสูตรที่ต้องการ ปุ๋ยที่นำมาใช้ในการผสมเรียกว่า แม่ปุ๋ย ชนิดของแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง ที่หาซื้อได้สะดวก และราคาถูกกว่าแม่ปุ๋ยชนิดอื่น ได้แก่
1. ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตร 18-46-0
2. ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0
3. ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60
ในการผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ใช้ปริมาณแม่ปุ๋ยและสารตัวเติม แต่การผสมปุ๋ยใช้เอง ไม่แนะนำให้ใช้ สารตัวเติม เพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักโดยไม่จำเป็น ทำให้เพิ่มแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย แสดงดังตาราง
ตารางแสดงปริมาณแม่ปุ๋ยและสารตัวเติมในการผสมปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม
สูตรปุ๋ย
|
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต 18-46-0
|
ยูเรีย
46-0-0
|
โพแทสเซียมคลอไรด์
0-0-60
|
สารตัวเติม 1/
ทราย ดินร่วน
|
20-8-20
20-10-12
30-5-18
|
18
22
10
|
38
36
60
|
34
20
30
|
10
22
-
|
หมายเหตุ 1/ ในการผสมปุ๋ยใช้เอง ไม่แนะนำให้ใช้สารตัวเติม
สูตรปุ๋ย เวลา และอัตราปุ๋ยผสมใช้เอง สูตร 20-8-20 ที่ใช้กับต้นยางก่อนเปิดกรีด (เขตปลูกยางเดิม)
และสูตร 20-10-12 (เขตปลูกยางใหม่)
ปีที่
|
อายุต้นยาง
(เดือน)
|
เขตปลูกยางเดิม
|
เขตปลูกยางใหม่
|
ปุ๋ยผสมใช้เอง 20-8-20
(กรัม/ต้น)
|
ปุ๋ยผสมใช้เอง 20-10-12 (กรัม/ต้น)
|
ปุ๋ยอินทรีย์
(กก./ต้น)
|
ดินร่วนเหนียว
|
ดินร่วนทราย
|
ดินทุกชนิด
|
ดินทุกชนิด
|
1
|
2
5
11
|
60
90
120
|
90
130
150
|
50
70
80
|
1
-
-
|
2
|
14
16
23
|
140
140
140
|
180
190
190
|
90
90
100
|
2
-
-
|
3
|
28
36
|
210
210
|
290
290
|
140
140
|
2
-
|
4
|
40
47
|
220
220
|
300
300
|
140
140
|
2
-
|
5
|
52
59
|
240
240
|
330
330
|
160
160
|
2
-
|
6
|
64
71
|
250
250
|
340
340
|
160
160
|
2
-
|
4. การตัดแต่งกิ่ง
ยางพาราจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพื่อเป็นการเตรียมพื้นที่บริเวณลำต้นให้เหมาะสมที่จะใช้กรีดยางได้ การตัดแต่งกิ่ง ที่ดีจะช่วยให้ต้นยางมีทรงพุ่มแข็งแรง ลดปัญหาความเสียหายที่เกิดจากลม ต้นยางพาราที่มีทรงพุ่มดีจะมีการเจริญเติบโตได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงและต่อเนื่องในช่วงหลังเปิดกรีดได้ยาวนาน
ในช่วง 1-2 ปี หลังจากปลูกยาง จำเป็นต้องลิดกิ่งแขนงที่แตกออกจากลำต้นขณะที่กิ่งยังอ่อน โดยใช้กรรไกร ตัดแต่งกิ่งที่คม เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเปลือกยาง และตัดให้ชิดลำต้น จนกระทั่งความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร จึงหยุดการตัดแต่งกิ่ง.
ด้วยความปรารถนาดี
ศูนย์รวบรวมผลผลิตยางพารา จ.เลย
บริษัท มาลัยพืชผล จำกัด สาขา จ.เลย
มือถือ : 083-5082944 , 080-2855810 , 087-2111219 , 081-8883697
โทรศัพท์/โทรสาร : 042-835141
|