ReadyPlanet.com
dot
bulletLog-in >>>
dot
รายการส่งเสริมการขาย New !!
dot
bulletไบโอ เอ็มพลัส ( Bio-Mplus )
dot
งานนำเสนอ ( Present )
dot
bulletพันธกิจ ( Mission )
bulletภาพกระบวนการผลิต ( Manufacturing Process )
bulletภาพโรงงานผลิต ( Factory )
bulletส่งเสริมการตลาด ( Marketing Promotion )
bulletถาม-ตอบ ( ask-answer)
bulletติดต่อเรา ( Contact us )
dot
สารชีวภาพ กับ พืชผลทางการเกษตร
dot
bulletทุกคำถามเรามีคำตอบ
bulletไม้ยางพารา
bulletส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง มะนาว มะกรูด
bulletกล้วยไม้ แวนด้า หวาย กล้วยไม้ดิน ฯลฯ
bulletไม้ผล ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ
bulletไม้ดอก เบญจมาศ ฯลฯ
bulletพริกชี้ฟ้า พริกหวาน มะเขือเทศ ฯลฯ
bulletพืชผัก ผักชี กวางตุ้ง ผักบุ้ง ฯลฯ
bulletขิง ข่า ขมิ้น เผือก มันฝรั่ง
bulletพืชตระกูลข้าว หอมมะลิ ข้าวขาวต่างๆ
dot
เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง
dot
bulletwww.sugarzone.in.th
bulletwww.theice.com
bulletwww.rakayang.net
bulletwww.afet.or.th
bulletwww.nettathai.org
bulletสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย
bulletสมาคมค้าทองคำ
bulletราคาน้ำมันประจำวัน
dot
เว็ปไซด์การเกษตร
dot
bulletห้องสมุดความรู้ทางการเกษตร
bulletสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
bulletกรมวิชาการเกษตร
bulletกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
dot
เกษตรอินทรีย์
dot
bulletทำไมต้องเกษตรอินทรีย์
bulletเกษตรกรอินทรีย์กับปุ๋ยมดขยัน
dot
ความรู้เรื่องยางพารา
dot
bulletการทำยางแผ่นรมควัน
bulletขั้นตอนการผลิตยางแผ่น
bulletเทคนิคการผลิตยางคุณภาพดี
bulletเทคโนโลยีการผลิตยาง




การทำยางแผ่นรมควัน
การทำยางแผ่น
 
            การทำยางแผ่น หมายถึง กรรมวิธีในการนำน้ำยางสดที่เก็บมาได้จากสวนไปทำให้เป็นยางแผ่นดิบ หรือยางแผ่นรมควัน เพื่อส่งจำหน่ายต่อไป
 
     ยางแผ่นที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.    ยางแผ่นบางสม่ำเสมอ ความหนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
2.    ขนาดของแผ่นยางกว้าง 38-46 เซนติเมตร ยาว 80-90 เซนติเมตร
3.    น้ำหนัก 0.8-1.2 กิโลกรัม/แผ่น
4.    สะอาด ไม่มีเชื้อรา สิ่งสกปรก และฟองอากาศเจือปน
5.    รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่คอดกิ่วสีสม่ำเสมอ ลายดอกเห็นเด่นชัด
6.    ความชื้นในแผ่นยางไม่ควรเกิน 2%
7.    มีความยืดหยุ่นดี
 
   อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำยางแผ่น
1.    จักรรีดยาง ทั้งรีดเรียบและรีดออก
2.    แท่นนวดยกพื้น ปูด้วยสังกะสี
3.    ตะกงอะลูมิเนียม
4.    ตะแกรงกรองน้ำยางเบอร์ 40 และ 60
5.    ถังรวมน้ำยาง
6.    น้ำกรดฟอร์มิค
7.    กระป๋องตวงน้ำกรด
8.    กระป๋องตวงน้ำยาง
9.    ที่กวนน้ำยาง
10.แผ่นสังกะสีปิดตะกงยาง
11.น้ำยาง
12.น้ำสำหรับผสมน้ำยาง และสำหรับล้างทำความสะอาดยางแผ่นและเครื่องมือต่างๆ
13.ตุ่มน้ำ, อ่างน้ำ
 
   หลักในการทำยางแผ่น
1.    เครื่องมือเครื่องใช้ต้องสะอาด
2.    กรองน้ำยางให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรกใดๆ
3.    ทำยางให้ได้แผ่นขนาดมาตรฐาน
4.    ใช้น้ำกรดที่ถูกต้องและใช้ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ
 
   วิธีการทำยางแผ่น
          หลังจากที่เก็บน้ำยางจากสวน และนำไปยังโรงงาน หรือบริเวณที่จะทำยางแผ่นแล้ว จะต้องรีบทำแผ่นทันที เพราะสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น ความร้อน อากาศ แบคทีเรียฯลฯ จะทำให้ยางเกิดการบูดหรือรัดตัวขึ้นทุกขณะ
          อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ทำยางแผ่น ต้องเตรียมให้พร้อมและล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้งถึงแม้ว่า อุปกรณ์เหล่านั้นจะสะอาดอยู่แล้วก็ตาม
          วิธีการทำยางแผ่นมีดังต่อไปนี้
1.    กรองน้ำยางให้สะอาด ด้วยตะแกรงกรองเบอร์ 40 และเบอร์ 60 (40 รูต่อนิ้ว หรือ 40 Mesh และ 60 รูต่อนิ้ว หรือ 60 Mesh)
2.    เติมน้ำสะอาด ผสมลงในน้ำยางที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว คนให้เข้ากัน ในกรณีที่เป็นน้ำยางจากต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ อาจผสมน้ำน้อยหน่อย โดยใช้น้ำยาง 3 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน ก็ได้ทั้งนี้เพราะต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่มักจะมีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (Dry Rubber Content) ต่ำ
3.    ตวงส่วนผสมของน้ำยางและน้ำที่ผ่านการกรองแล้วนี้ใส่ตะกงอะลูมิเนียม ตะกงละ 5 ลิตร
4.    ผสมน้ำกรดฟอร์มิค (Formic Acid) โดยใช้น้ำกรด 2 ช้อนสังกะสี ต่อน้ำ 3 กระป๋องนมใส่น้ำกรดที่ผสมแล้วนี้ 1 กระป๋องนม ต่อน้ำยาง 1 ตะกง
5.    ก่อนเทน้ำกรดที่ผสมแล้วใส่น้ำยาง ควรใช้ที่กวนน้ำยางพายกวนน้ำยางในตะกงที่จะใส่กรดสัก 1-2 เที่ยวก่อน แล้วค่อยๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดลงไปตามยาวของตะกง แล้วใช้ที่กวนน้ำยางพายกวนไปมาอีก 5-6 เที่ยว
6.    ในระหว่างการกวน จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นมากมาย ให้ช้อนฟองอากาศออกให้หมด ซึ่งฟองอากาศนี้ สามารถนำไปทำเป็นขี้ยางชั้นดีได้หลังจากตักฟองอากาศออกหมดแล้ว ควรปิดฝาตะกงเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกลงไป นำไปตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที ยางในตะกลก็จะแข็งตัว
7.    เมื่อยางแข็งตัวดีแล้ว ก่อนนำไปแทนนวด ควรรินน้ำหล่อไว้ทุกตะกง เพื่อสะดวกในการเลาะยางออกจากข้างตะกง
8.    คว่ำตะกลลงบนแท่นนวด ยางจะหลุดออกจากตะกง จากนั้นทำการนวดด้วยมือหรือไม้นวดก็ได้ตามแต่ถนัด นวดให้ยางเป็นแผ่นบางลงมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
9.    นำยางที่นวดจนบางแล้วนี้ เข้าเครื่องรีดเรียบ 3 ครั้ง จะได้แผ่นยาง บางหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
10.จากนั้นนำเข้าเครื่องรีดดอกอีกครั้งหนึ่ง จะได้ยางแผ่นดิบที่มีขนาดพอเหมาะความหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
11.นำยางที่ผ่านเครื่องรีดดอกแล้วไปล้างน้ำให้สะอาด โดยจุ่มในโอ่งหรือถังน้ำ แล้วจึงนำไปผึ่งในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก เมื่อยางแห้งก็สามารถเก็บไว้ขายได้ หรือถ้าหากมีโรงรมควัน เมื่อน้ำหยุดไหลหลังจากผึ่งไว้สักครู่ก็สามารถนำเข้าโรงรมได้เลย
ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการทำยางแผ่นที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติอยู่ แต่ถ้าในสวนใหญ่ๆ หรือ ใน
กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยาง ที่มีโรงงานทำยางแผ่นเอง มักจะเอาน้ำยางมาผสมน้ำใส่ตะกงขนาดใหญ่ให้มีความเข้มข้นหรือมีเนื้อยางแห้งประมาณ 15% (โดยปกติจะใช้น้ำยาง 1 ส่วนผสมน้ำ 1 ส่วนโดยประมาณ) จากนั้นผสมน้ำกรดฟอร์มิคเข้มข้น 85-90% ในอัตรา 0.4-0.8% ของเนื้อยางแห้ง (โดยเอาน้ำกรดฟอร์มิคเข้มข้น 85-90% มาทำให้เจือจางเสียก่อนด้วยน้ำ ซึ่งตามปกติจะใช้น้ำกรด 2.5 ส่วน ผสมน้ำ 97.5 ส่วน จะทำให้น้ำกรดนั้นมีความเข้มข้นเพียง 2.5%) ใส่ลงไปให้ยางแข็งตัว ใช้แผ่นอะลูมิเนียมกั้น เพื่อให้ได้ยางแผ่นขนาดที่ต้องการ เมื่อยางจับตัวกันได้ที่ก็นำไปเข้าเครื่องรีดยาง ซึ่งมักจะทำเป็นขุดประกอบด้วย ขอนสำหรับรีดเรียบ 3-5 ขอน และรีดดอก 1 ขอน ใช้เครื่องยนต์ในการหมุนเครื่องรีดยาง ซึ่งทำให้สะดวกและปฏิบัติงานได้รวดเร็ว
ปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานยางแผ่นดิบ เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายยางของเกษตรกร
ชาวสวนยาง ดังนี้
 
   ยางแผ่นดิบคุณภาพ 1
          มีลักษณะเรียงตามความสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.    แผ่นยางมีความสะอาดและปราศจากฟองอากาศตลอดแผ่น
2.    มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 1.5%
3.    มีความยืดหยุ่นดี และมีลายดอกเด่นชัดตลอดแผ่น
4.    แผ่นยางบาง มีความหนาของแผ่นยางไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
5.    เนื้อยางแห้งใส มีสีสวยสม่ำเสมอตลอดแผ่น ลักษณะสีเหลืองทองหรือเหลืองอ่อนไม่มีสีคล้ำหรือรอยด่างดำ
6.    มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 0.8-1.2 กก.
7.    แผ่นยางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 38-46 เซนติเมตร ยาว 80-90 เซนติเมตร
 
   ยางแผ่นดิบคุณภาพ 2
          มีลักษณะเรียงตามความสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.    แผ่นยางมีความสะอาดตลอดแผ่น หรืออาจมีสิ่งสกปรกและฟองอากาศอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย
2.    มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 2%
3.    มีความยืดหยุ่นดี และมีลายดอกเด่นชัด
4.    แผ่นยางบาง มีความหนาของแผ่นยางไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
5.    เนื้อยางแห้งมีสีสม่ำเสมอตลอดแผ่นลักษณะสีค่อนข้างคล้ำหรืออาจมีรอยด่างดำได้บ้างเล็กน้อย
6.    มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 1-1.2 กก.
7.    แผ่นยางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 38-46 เซนติเมตร ยาว 80-90 เซนติเมตร
 
   แผ่นยางดิบคุณภาพ 3
          มีลักษณะเรียงตามความสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.    แผ่นยางมีความสะอาดหรืออาจมีสิ่งสกปรกและฟองอากาศอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย
2.    มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 3%
3.    มีความยืดหยุ่นดี และมีลายดอกเด่นชัด
4.    แผ่นยางค่อนข้างหนา มีความหนาของแผ่นยางไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
5.    เนื้อยางแห้งมีสีคล้ำค่อนข้างทึบ ไม่โปร่งใสเท่าที่ควร
6.    มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่นไม่เกิน 1.5 กก.
7.    แผ่นยางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 38-46 เซนติเมตร ยาว 80-90 เซนติเมตร
 
   แผ่นยางดิบคุณภาพ 4
          มีลักษณะเรียงตามความสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.    แผ่นยางมีความสะอาดหรืออาจมีสิ่งสกปรกและฟองอากาศอยู่ในแผ่นยางได้บ้าง
2.    มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 4.5%
3.    มีความยืดหยุ่นดี และมีลายดอกเด่นชัด
4.    แผ่นยางหนา มีความหนาของแผ่นยางไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
5.    เนื้อยางแห้งมีสีคล้ำทึบ ไม่โปร่งใส
6.    มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่นไม่เกิน 1.5 กก.
7.    แผ่นยางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 38-46 เซนติเมตร ยาว 80-90 เซนติเมตร            
 
 
   การรมควัน
            การรมควัน หมายถึง การนำยางแผ่นที่ผ่านการรีดดอกเรียบแล้ว ไปรมควันในโรงรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยางแผ่นที่รมควันนั้นแห้งสนิท ยางแผ่นที่ผ่านการรมควันแล้ว เรียกว่ายางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet)
 
   การอบแห้ง
          การอบแห้ง หมายถึง การนำยางแผ่นที่ผ่านการรีดดอกเรียบร้อยแล้ว ไปอบแป้งในโรงอบ ใช้ความร้อน (ไม่มีควันในโรงอบ หรือแผ่นยางไม่สัมผัสกับควัน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยางแผ่นที่อบแป้งสนิทเช่นกัน ยางแผ่นที่ผ่านการอบแห้งแล้วนี้ เรียกว่ายางอบแห้ง (Air Dry Sheet) ซึ่งจะมีสีสรรสวยกว่ายางแผ่นรมควัน
          การรมควันในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของพ่อค้าผู้ส่งออก ซึ่งมักจะมีโรงรมเป็นของตนเอง ทำการรวบรวมยางแผ่นดิบจากเกษตรกรมาบ้างและนำเข้าโรงรม ทำการรมควันยางต่อไป ยางที่ได้จากวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นยางแผ่นรมควันชั้นที่ 3 หรือต่ำกว่า
          ส่วนการรมควันและ/หรือการอบแห้งที่ได้จากการนำน้ำยางมาทำเป็นแผ่นยางโดยตรงจากโรงงานผลิตยางแผ่นของผู้ผลิตรายใหญ่หรือของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยาง เมื่อผ่านการรีดดอกและปล่อยทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำแล้ว นำไปรมควันหรืออบแห้งทันที ก็จะได้ยางแผ่นรมควัน หรือยางแผ่นอบแห้งที่มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ อยู่ในชั้นคุณภาพเดียวกัน ยางแผ่นรมควันหรือยางแผ่นอบแห้งที่ได้จากรรมวิธีนี้มีโอกาสที่จะเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 1 หรือยางแผ่นอบแห้งที่เทียบได้กับยางแผ่นรมควันชั้น 1 มาก
 
   ขั้นตอนการรมควันและ/หรือการอบแห้ง
          ในกรณีที่ใช้ยางดิบที่รวบรวมได้จากเกษตรกร
1.    นำยางแผ่นดิบที่รวบรวมได้มาล้างทำความสะอาด
2.    จุ่มยางแผ่นที่ล้างทำความสะอาดแล้วลงในสารละลายของสารพาราไนโตรฟินอล (Paranitrophenol) ความเข้มข้น 1% เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในขณะที่รมควันหรืออบแห้ง
3.    ผึ่งยางให้สะเด็ดน้ำ โดยนำไปผึ่งในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
4.    นำยางแผ่นที่สะเด็ดน้ำแล้วเข้าโรงรมหรือโรงอบ โดยปกติจะใช้เวลาในการรมควันหรืออบให้ยางแห้งประมาณ 4-7 วัน ขึ้นกับความหนาของยางแผ่นที่รมหรืออบ
ในกรณีที่ทำยางแผ่นจากโรงงานทำยางแผ่นแล้วเข้าโรงรมหรือโรงอบทันที
1.    นำยางที่ผ่านการรีดดอกและล้างน้ำกรดออกเรียบร้อยแล้ว ไปจุ่มในสารละลายพาราไนโตรฟินอลความเข้มข้น 1% เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในขณะที่รมควันหรืออบแห้ง
2.    ผึ่งยางให้สะเด็ดน้ำ โดยนำไปผึ่งในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
3.    นำยางแผ่นที่สะเด็ดน้ำแล้วเข้าโรงรมหรือโรงอบ โดยปกติจะใช้เวลาในการรมควันหรืออบให้ยางแห้งประมาณ 4 วัน โดยในแต่ละวันจะใช้อุณหภูมิในการรมควันหรืออบ ดังนี้
วันที่ 1      ใช้อุณหภูมิ     120 – 125 F (ฟาเรนไฮท์)
วันที่ 2      ใช้อุณหภูมิ     125 – 135 F
วันที่ 3      ใช้อุณหภูมิ     135 – 140 F
วันที่ 4      ใช้อุณหภูมิ     140 – 145 F
 
 
 
   ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการรมควัน
1.   ลักษณะของโรงรมควัน โรงรมที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1)   สามารถกระจายความร้อนได้อย่างสม่ำเสมอแลทั่วถึง
2)   สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี
3)   มีการระบายอากาศดี
4)   สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ดี
5)   มีทางระบายน้ำซึ่งหยดจากแผ่นยางออกจากภายในโรงรมได้เร็ว
6)   ควันและความชื้นไม่รั่วออกไปทางเพดาน
2.   ฟืนที่ใช้ในการรมควัน ฟืนนับเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพการ
รมควัน โดยฟืนที่ดีนั้นควรจะเป็นฟืนที่ให้ความร้อนดีและสม่ำเสมอ หากใช้ฟืนไม้เบญจพรรณอาจจะทำให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ ฟืนที่ไม่แห้งสนิท หรือฟืนของไม้บางชนิดที่มีควันดำมากจะทำให้ยางที่รมควันมีสีดำ คุณภาพต่ำได้
 
   สาเหตุที่ทำให้ยางแผ่นรมควันมีตำหนิหรือคุณภาพต่ำ
1.   สาเหตุที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตยางแผ่นดิบ
1.1)       การมีฟองอากาศเล็กๆ ในแผ่นยาง การเกิดฟองอากาศนี้เป็นเพราะน้ำยางสดที่นำมาทำยางแผ่นนั้นเริ่มจะเสีย โดยเริ่มมีการจับเป็นก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า เม็ดพริก ควรทำการแก้ไข โดยการใช้สารเคมี เช่น โซเดียมซัลไฟด์ ใส่รองก้นถ้วยหรือใส่ในถังรวบรวมน้ำยาง เพื่อป้องกันการจับเป็นก้อน
1.2)       การมีจุดดำ มีเปลือกไม้หรือทราย เนื่องจากมีสิ่งสกปรกเจือปนมาก การแก้ไขควรจะทำการกรองน้ำยางให้สะอาดด้วยตะแกรงขนาด 60 Mesh (60 รูต่อนิ้ว)
1.3)       การมีฟองอากาศขนาดเท่าหัวเข็มหมุดตามขอบแผ่นยาง เป็นอากาศที่เนื่องมาจากการใช้น้ำกรด เพื่อให้ยางจับตัวน้อยเกินไปหรือการผสมระหว่างน้ำยางกับน้ำกรดเข้ากันไม่ดีการแก้ไข ควรระมัดระวังการใช้กรดให้ถูกส่วนและในการผสมน้ำกรดลงในน้ำยางให้ใส่ทีละน้อยๆ และรีบคนให้เข้ากัน
1.4)       การมีสีสนิมตามผิวยาง เป็นอาการที่เกิดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดหรือการเอายางที่ทำเป็นแผ่นแล้วแต่ยังเปียกอยู่ไปวางทับถมกัน การแก้ไข ควรล้างทำความสะอาดเครื่องมือและล้างแผ่นยางให้สะอาด แล้วรีบนำไปผึ่ง อย่าวางทับถมกันไว้นานเกินไป
1.5)       การมีผิวยางเป็นมัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการล้างยางแผ่นที่ทำเสร็จใหม่ๆ เอากรดออกไม่หมด หรือใช้น้ำกรดมากเกินไปหรือใช้โซเดียมซัลไฟด์มากเกินไป การแก้ไขควรตรวจสอบความเข้มข้นของกรด หรือโซเดียมซัลไฟด์ที่ใช้ให้ถูกต้อง และล้างแผ่นยางเอากรดตกค้างออกให้หมด
 
         2. สาเหตุที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการรมควัน
2.1)       การมีฟองเล็กๆ โดยทั่วไป เกิดจากอุณหภูมิในวันแรกของการรมควันร้อนจัดเกินไปควรปรับอุณหภูมิเสียใหม่ ให้เริ่มด้วย 120 – 125 F ไม่ว่าในระยะใด
2.2)       การมีโพรงอากาศ หรือฟองอากาศ เป็นเพราะอุณหภูมิในระยะสุดท้ายของการรมร้อนจัดเกินไป ควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินกว่า 145 F ไม่ว่าในระยะใด
2.3)       การมีทางสีสนิม สาเหตุเพราะอุณหภูมิในวันแรกที่เข้าโรงรมต่ำมากเกินไป ควรระวังโดยเริ่มต้นด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 120 F
2.4)       การมีทางสีดำและเหนียวเหนอะ เป็นอาการที่เนื่องมาจากเพดานมีช่องให้ควันและความชื้นรั่วออกไปตรงช่องนั้น จึงเกินมีละอองความชื้นเกาะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลหรือสีดำ เมื่อมีความชื้นมาก ยางเหนียวสีน้ำตาลหรือดำนั้น จะละลายหยดลงที่แผ่นยาง ทำให้แผ่นยางมีทางสีดำและเหนียวเหนะติดอยู่ ฉะนั้น ควรจะอุดช่องรั่วของเพดานให้หมด
2.5)       การมีราขึ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการมีความชื้นภายในโรงรมมากเกินไป ซึ่งจะต้องแก้ไขในเรื่องอุณหภูมิ และการล้างแผ่นยางเอาราออกและจุ่มน้ำยาพาราไนไตรฟินอลความเข้มข้น 1% เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
 
   การแยกยางและการคัดชั้นยาง
          ยางแผ่นดิบที่ชาวสวนยางแต่ละรายผลิตออกขายในแต่ละท้องที่ จะมีความสะอาดและความประณีตแตกต่างกัน ในการขายยางของชาวสวนก็มักจะอยู่ในรูปของยางคละชั้น เมื่อยางแผ่นดิบเหล่านี้ถูกแปรสภาพเป็นยางแผ่นรมควัน ก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน จึงทำให้พ่อค้าผู้รับซื้อช่วงแรกก่อนถึงโรงรมควัน มีความจำเป็นต้องรับซื้อยางแผ่นดิบในราคาที่แตกต่างกัน ตามคุณภาพของยางแผ่นดิบแต่ชาวสวนยางส่วนใหญ่ พยายามที่จะขายยางของตนให้ได้ราคาเดียวกัน ผู้ซื้อจึงต้องรับซื้อในราคาต่ำ จึงมักจะมีปัญหาการต่อรองเรื่องราคา จึงจำเป็นต้องจัดแบ่งยางแผ่นดิบออกตามคุณภาพของยางแผ่นตามความเหมาะสม โดยอาศัยทักษะของทั้งสองฝ่ายเป็นเกณฑ์ตัดสิน การทำตามวิธีนี้ เรียกว่า การแยกชั้นยางหรือการแยกยางแผ่นดิบ ในการแยกชั้นยางหรือการแยกยางแผ่นดิบ ในการแยกขั้นต้นนี้ ยังไม่ถือเป็นมาตรฐานของตลาด เป็นเพียงเพื่อหาข้อยุติในการตกลงราคา เพื่อซื้อขายยางแผ่นดิบเท่านั้น เมื่อนำยางแผ่นดิบไปรมควัน ผู้แปรสภาพหรือพ่อค้าผู้ส่งออก ก็จะทำการคัดชั้นยางอีกครั้งหนึ่งเป็นการคัดชั้นยางเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานสากล ตามข้อกำหนดของสมาคมผู้ค้ายางระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้มีคุณภาพชั้นของยางแผ่นรมควันนี้ 5 ชั้น โดยคุณภาพของยางแผ่นรมควันแต่ละชั้นเทียบได้กับคุณภาพของยางแท่ง การแยกยางแผ่นรมควันโดยวิธีนี้ เรียกว่า การคัดชั้นยาง
 
   การแยกยาง
          การแยกยางนั้นอาศัยความเหมาะสม โดยอาศัยทักษะและข้อสังเกตบางประการ คือ
1.    ความสะอาด แผ่นยางสะอาด ไม่มีขยะขอบริ้วขี้ยาง ฟองอากาศเห็นเด่นชัด
2.    ความหนาบางของแผ่นยาง แผ่นยางมีความหนายางสม่ำเสมอตลอดแผ่น
3.    ความชื้นในแผ่นยาง ความชื้นไม่ควรเกิน 3 %
4.    ความยืดหยุ่น ควรมีความยืดหยุ่นดีไม่ฉีกขาดง่าย
5.    สีและความสม่ำเสมอของสี สวยใสตลอดแผ่น
6.    ลักษณะของขนาดของแผ่นยาง ยางแผ่นมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่คอดกิ่ว ไม่เล็ก โต ยาว หรือสั่นเกินไป
คุณสมบัติของยางแผ่นหนึ่งๆ หากครบถ้วนตามข้อดังกล่าวนี้ ยางแผ่นนั้นจัดเป็นยางชั้น 1 ของ
ยางแผ่นดิบได้ ส่วนยางแผ่นชั้นต่ำลงไปจากนี้ก็มีคุณสมบัติด้อยกว่าลงไปน้อยบ้างมากบ้าง ซึ่งจัดเป็นยางชั้นต่ำรองๆ ลงไป จากหัวข้อเหล่านี้ก็พอจะเป็นหลักในการคัดยางแผ่นดิบได้
 
   การคัดชั้นยาง
          การคัดชั้นยางแผ่นรมควันนั้น ผู้ทำการคัดชั้นจะต้องมีทักษะอย่างสูงเพราะจะต้องใช้สายตาช่วยในการคาดคะเนชั้นของยาง ซึ่งจะต้องได้มาตรฐานเพราะคุณภาพของบางแผ่นรมควันนั้นจะต้องเปรียบเทียบกับยางแท่ง ในการกำหนดคุณภาพนั้น กำหนดให้ยางแผ่นรมควันเป็น 5 ชั้น คือ
1.    ยางแผ่นรมควันชั้น 1
(Ribbed Smoked Sheet 1)
2.    ยางแผ่นรมควันชั้น 2
(Ribbed Smoked Sheet 2)
3.    ยางแผ่นรมควันชั้น 3
(Ribbed Smoked Sheet 3)
4.    ยางแผ่นรมควันชั้น 4
(Ribbed Smoked Sheet 4)
5.    ยางแผ่นรมควันชั้น 5
(Ribbed Smoked Sheet 5)
          นอกนั้นถือเป็นยางต่ำชั้น หรือยาง Burok
          มาตรฐานของแผ่นรมควันของประเทศไทยนั้น กำหนดเอายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ซึ่งยางแผ่นรมควันชั้น 3 คุณภาพเท่ากับยางแท่ง STR.20 ยางแผ่นรมควันคุณภาพดีกว่าก็พิจารณาให้เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 1 หรือ 2 แต่ถ้าคุณภาพเลวกว่าก็พิจารณาให้เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 4, 5 หรือเป็นยางต่ำชั้น (Burok) สิ่งสำคัญที่จะช่วยกำหนดว่ายางนั้นควรอยู่ชั้นไหน คือ
1.    ฟองอากาศและสิ่งสกปรกซึ่งภาษาของการคัดชั้นยาง เรียกว่า จุดและแต้ม
2.    สีและความสม่ำเสมอของสี ไม่มีราสีแดง
3.    ไม่มีสิ่งปลอมปน
4.    การใช้น้ำและน้ำกรดถูกส่วน
ข้อพิจารณาในการแยกชั้นยางแผ่นรมควันของบริษัทผู้ส่งออกตามมาตรฐานของสมาคมผู้ค้ายางระหว่างประเทศ มีดังนี้
1.   ยางแผ่นรมควันชั้น 1 (RSS.1) เป็นยางแผ่นที่แห้งและรมควันสุกสม่ำเสมอ สะอาดสีสม่ำเสมอตลอดแผ่น ไม่มีจุดและแต้มเป็นตำหนิตลอดแผ่น ไม่มีราแดง (ราสนิม) เหนียวแน่นและมีความยืดหยุ่นดี ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน อาจจะมีฟองอากาศ (จุด) ขนาดเล็กๆ เท่าหัวเข็มหมุดกระจายอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเพียงเล็กน้อย คุณภาพเหมือน STR.5
2.   ยางแผ่นรมควันชั้น 2 (RSS.2) เป็นยางแผ่นที่มีคุณภาพต่ำกว่ายางแผ่นรมควันชั้น 1 แต่จะต้องรมควันสุกสม่ำเสมอ สะอาด สีสม่ำเสมอ ตลอดแผ่น ไม่มีจุดและแต้มเป็นตำหนิ ไม่มีราแดงมากเกินไป เหนียวแน่นและความยืดหยุ่นดี ถ้าจะมีจุดหรือแต้มหรือจุดดำๆ ได้บ้าง รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 5% ของแผน คุณภาพเหมือน STR.10
3.   ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS.3) เป็นยางที่แห้ง รมควันสุกสม่ำเสมอ เหนียวแน่นดียืดหยุ่นดีไม่มีจุดและแต้ม สิ่งเจือปนอื่นๆ เป็นตำหนิมากจนเป็นที่รังเกียจ คือ รวมกันแล้วไม่เกิน 10% ของแผ่น คุณภาพเหมือนยางแท่ง STR.20
4.   ยางแผ่นรมควันชั้น 4 (RSS.4) เป็นยางที่รมควันสุกสม่ำเสมอ เหนียวแน่น ยืดหยุ่นดี อาจจะมีรอยด่างเป็นจุดใสๆ ได้บ้าง มีเปลือกไม้ฟองอากาศจุดเหนียว สิ่งเจือปนอื่นๆ มีราแดงหรือราแห้งได้บ้าง ซึ่งข้อตำหนิเหล่านี้รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 20% ของแผ่น
5.   ยางแผ่นรมควันชั้น 5 (RSS.5) เป็นยางแผ่นที่รมควันสุกแห้ง ไม่มีรอยด่าง ไม่มีจุดฟองอากาศเหนียว ไม่มีจุดและแต้ม ราแดง รอยด่างเศษชิ้นโต ไม่รมควันสุกเกินไปจนเป็นจุดเหนียวไม่มีตำหนิเกิดจากเชื้อราเพราะความร้อนต่ำ สิ่งเหล่านี้รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 30% ของแผ่น
6.   ยางแผ่นรมควันชั้นต่ำ (Burok) เป็นชั้นที่ต่ำกว่ายางแผ่นรมควันชั้นที่ 5 และเป็นเศษยางที่ตัดออกจากยางแผ่นรมควันชั้นต่างๆ หรือที่รมสุกเกินไป มีควันดำหนาจับ เป็นแผ่นยางที่ใช้กรดมากหรือน้อยเกินไป การยืดหยุ่นไม่ดี ลักษณะยางเป็นสีดำ ไม่มีความสม่ำเสมอในแต่ละแผ่น ไม่มีการขายออกไปสู่ต่างประเทศ นอกจากนำไปแปรสภาพใหม่เป็นยางเคารพ
 
   ยางแท่ง
          ยางแท่ง คือ ยางที่ผ่านการย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ และอบให้แห้งด้วยความร้อน แล้วจึงอัดเป็นแท่ง เป็นยางที่มีการกำหนดมาตรฐาน คุณสมบัติทางเทคนิคตามกระบวนการวิทยาศาสตร์
          การผลิตยางแท่ง สามารถผลิตได้ทั้งจากน้ำยางหรือยางแห้งที่จับตัวแล้ว เช่น ยางก้นกล้วยยางแผ่นฯลฯ หลักสำคัญของการผลิตยางแท่ง คือ การตัดย่อยก้อนยางให้เป็นเม็ดหรือชิ้นเล็กๆ อย่างรวดเร็ว ล้างสิ่งสกปรกออก นำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมให้มีน้ำหนัก 33.33 กิโลกรัม ต่อก้อนหรือมีขนาดตามต้องการ
          ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตยางแท่งตั้งแต่ปี 2511 เรียกชื่อในขณะนั้นว่า ยางแท่ง “ทีทีอาร์” (TTR: Thai Tested Rubber) โดยมีสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในเรื่องของมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพ และได้มีการปรับปรุงพัฒนามาตรฐานคุณภาพยางแท่งเรื่อยมา จนปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ยางแท่ง “เอสทีอาร์” (STR : Standard Thai Rubber)
 
 
                  

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท มาลัยพืชผล จำกัด(br) 39/181-182 หมู่ที่ 9 ซอยพิพรพงษ์ 2 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210(br) โทร. 02-5329173-5 แฟกซ์ 02-5329176(br) www.malaigreen.com(br)